วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

การเคลื่อนที่แนวตรง

การเคลื่อนที่ในแนวตรงด้วยความเร่งคงที่ มีสูตรดังนี้

 u = ความเร็วเริ่มต้น (m/s)
v = ความเร็วตอนปลาย (m/s )
s = ระยะทาง(m)
a = ความเร่ง ( m/s2)   อ่านเพิ่มเติม

แรงและกฎการเคลื่อนที่

3.1 แรง (Force)
ตามความหมายที่ใช้กันทั่วไป แรงคือ สิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และเมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้อาจเพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย เช่น ถ้าวัตถุวางบนพื้น แรงเสียดทานระหว่างพื้นกับวัตถุก็จะกระทำต่อวัตถุด้วย หากแรงที่กระทำต่อวัตถุไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงเสียดทานวัตถุก็จะไม่เคลื่อนที่ หรือกรณีการออกแรงกระทำต่อวัตถุที่ยึดไว้อย่างแข็งแรง เช่น เสา หรือกำแพง เสาหรือกำแพงย่อมไม่เคลื่อนที่ เพราะแรงจากส่วนอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย สำหรับวัตถุที่ไม่ได้ยึดไว้หรือมีแรงเสียดทานน้อย เช่นรถทดลอง แรงจะทำให้รถเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามทิศที่แรงกระทำซึ่งอาจจะสังเกตได้จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเตะลูกฟุตบอล หรือตีเทนนิส จะมีแรงกระทำต่อลูกฟุตบอลและลูกเทนนิสในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ทำให้ลูกฟุตบอลและลูกเทนนิสเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนความเร็วไปตามแรงกระทำ   อ่านเพิ่มเติม

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ รอบตัวเรา อาจจะเป็นการเคลื่อนที่แนวตรง หรืออาจเป็นแนวโค้ง เช่น ลูกบาสเกต- บอลที่
ก าลังลอยเข้าห่วง สายน ้าที่พุ่งออกจากหัวฉีด ลูกบอลที่ถูกเตะลอยไปในอากาศ การเลี้ยวของรถเมื่อเข้าทางโค้ง การหมุนของ
ใบพัดลม เป็นต้น ในบทนี้เราจะได้ศึกษาการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบ
วงกลม และการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
1. การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (projectile motion)
 การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุอย่างอิสระโดยมีแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกมา กระท า
เพียงแรงเดียวเท่านั้น เป็นการเคลื่อนที่ที่มีวิถีการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง เช่น การขว้างหรือยิงวัตถุออกไป
รูป 4.1 ภาพแสดงเส้นทางการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
(ภาพจาก Halliday Resnick Walker - Fundamentals of Physics 9th Edition)
 การศึกษาปริมาณต่างๆ ของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์โดยการปล่อยวัตถุให้ตกอย่างอิสระพร้อมกับดีดวัตถุอีก
อันหนึ่ง ซึ่งเหมือนวัตถุแรกทุกประการออกไปในแนวระดับ  อ่านเพิ่มเติม